ศรชล. ย้ำ จะมุ่งมั่นดำเนินบทบาทหน้าที่อย่างเต็มที่ ช่วยยกระดับการปราบปรามการค้ามนุษย์

ไทยถูกลดระดับการค้ามนุษย์มาอยู่ Tier 2 เป็นกลุ่ม Watch List

ศรชล. ย้ำ จะมุ่งมั่นดำเนินบทบาทหน้าที่อย่างเต็มที่ ช่วยยกระดับการปราบปรามการค้ามนุษย์

เมื่อปี 2563 ไทยได้พบกับปัญหาเรื่อง “สถานการณ์การค้ามนุษย์” (Trafficking in Persons Report:TIP Report) ในเรื่องการบังคับค้าบริการทางเพศ การบังคับใช้แรงงาน และปัญหาผู้อพยพชาวโรฮิงญา โดยไทยติดอยู่ในกลุ่ม Tier 2 คือ ประเทศที่ไม่ผ่านมาตรฐานขั้นต่ำในการขจัดการค้ามนุษย์ แต่มีความพยายามแก้ปัญหาเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน และล่าสุดในปี 2564 ไทยขยับลงมาอยู่ที่ Tier 2 Watch List คือประเทศที่ต้องจับตามอง ร่วมกับ ประเทศ เพื่อนบ้าน ในอาเซียนเช่น บรูไน กัมพูชา และเวียดนาม อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมารัฐบาลไทย ได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่ง กับการต่อต้าน การค้ามนุษย์ ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติ การดำเนินการเรื่องนี้ของไทยเป็นไปเพื่อประโยชน์ของสังคมไทย และเพื่อยกระดับ มาตรฐาน การคุ้มครองดูแลและป้องกันไม่ให้ชาวไทย ชาวต่างชาติ รวมถึงแรงงานต่างด้าวในไทย ตกเป็นผู้เสียหาย จากการค้ามนุษย์ โดยยึดหลักการปฏิบัติ 3 ด้านด้วยกัน คือ

  1. การดำเนินคดี มีประสิทธิภาพมากขึ้นและใช้เวลาน้อยลง
  2. การคุ้มครองดูแลผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ โดยให้ผู้เสียหายเป็นศูนย์กลาง และคำนึงถึงบาดแผลทางจิตใจเป็นสำคัญ
  3. การป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะการบริหารจัดการการทำงานของแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมาร์)

ทางด้านรอง ผอ.ศรชล. พลเรือเอก สมประสงค์ นิลสมัย และเลขาธิการ​ ศรชล. พลเรือเอก เถลิงศักดิ์ ศิริสวัสดิ์ ได้กล่าวถึงการมุ่งแก้ไขปัญหาและหาข้อบกพร่องเกี่ยวกับ PIPO ปรับลดประเทศไทยไปสู่ Tier 2 Watch List อย่างใกล้ชิด พร้อมรับนโยบาย ภารกิจส่งมอบจาก ศปมผ. และสั่งการจัดทำแผนการตรวจบูรณาการอย่างเร่งด่วน โดยทาง ศปมผ.กำหนดให้ ศรชล.เป็นหน่วยรับมอบงานการตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงานศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้า-ออก  (Port In – Port Out Controlling Center: PIPO) โดยชุดตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่ ประจำ ศูนย์  PIPO (Flying Inspection Team: FIT) ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการด้านการเพิ่มประสิทธิภาพศูนย์ PIPO และทางด้านศรชล. ได้ขานรับนโยบายเพื่อช่วยรัฐบาลแก้ไขปัญหาดังกล่าว ด้วยการร่วมมือกับสำนักงานสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงาน จังหวัดสมุทรสงคราม จัดให้มีการบูรณาการตรวจคุ้มครองแรงงานในเรือประมงทะเล รวมถึงร่วมมือ กับคณะทำงานสภาพการจ้าง สภาพการทำงาน และการค้ามนุษย์ด้านแรงงานในกิจการประมงทะเล เพื่อหาผู้กระทำ ความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ หรือใช้แรงงานผิดกฎหมาย

จะเห็นได้ว่ารัฐบาลมีความพยายาม แก้ปัญหาโดยรวมเพิ่มมากขึ้น สืบเนื่องมาจากมีกระบวนการ สืบสวน สอบสวน กรณีการค้ามนุษย์น้อยลง มีการดำเนินคดีกับผู้ต้องหาน้อยลง และพิพากษา ลงโทษนักค้ามนุษย์น้อยลงอย่าง มีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับปี 2562 เพราะมีการรายงานสาระที่สำคัญเกี่ยวกับกลุ่มแรงงานต่างด้าวมักจะถูกบังคับใช้ แรงงานในหลากหลายอุตสาหกรรมในประเทศไทย แต่กลับระบุผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ด้านแรงงานในจำนวนที่ต่ำ ซึ่งเกิดมาจากการทุจริตและการสมรู้ร่วมคิดของเจ้าหน้าที่รัฐบางรายบุคคลเท่านั้น โดยรัฐบาลเข้มงวดเรื่องการทุจริต และการประพฤติผิดมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ และบังคับใช้กฎหมายเพื่อดำเนินและพิพากษาลงโทษ นักค้ามนุษย์ ด้านแรงงานในเชิงรุกและระบุผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน มีการสืบสวนสอบสวนและดำเนินคดี ในเชิงรุกต่อเจ้าหน้าที่ที่ถูกกล่าวหาว่าสมรู้ร่วมคิดในการค้ามนุษย์ และดำเนินการพิพากษาและลงโทษ ผู้ที่พบว่า มีความผิดจริงอย่างเหมาะสม และมีการฝึกอบรมเสริมประสบการณ์การทำงาน ในคดีค้ามนุษย์ อย่างเพียงพอ เพื่อ ปรับปรุงประสิทธิภาพในการระบุผู้เสียหายได้ชัดเจน

นี่คือหนึ่งในหลายบทบาทและหน้าที่สำคัญของ ศรชล. เพื่อการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และมีความมุ่งมั่นตั้งใจ เพื่อนำพาประเทศไทยสู่การปรับขึ้นเป็นประเทศ Tier 1 โดยสมบูรณ์ และยังทุ่มเท เสียสละ ปกป้องประเทศชาติ ทั้งด้านความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคมอย่างยั่งยืนสืบไป