ผู้บัญชาการทหารเรือในฐานะ รอง ผอ.ศรชล. เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหาร ศรชล. และพิธีเปิดการปฐมนิเทศกำลังพล ศรชล.

ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ พลเรือเอก สมประสงค์ นิลสมัย ผู้บัญชาการทหารเรือ ในฐานะ รองผู้อํานวยการศูนย์อํานวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการบริหาร ศรชล. ประจําปีงบประมาณ ๒๕๖๕ และเปิดการปฐมนิเทศกําลังพล ณ โรงแรมดุสิตธานี จังหวัดชลบุรี โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย พลเรือเอก เถลิงศักดิ์ ศิริสวัสดิ์ เสนาธิการทหารเรือ ในฐานะ เลขาธิการ ศรชล. รวมถึงกรรมการบริหารจากหน่วยงานหลัก ของ ศรชล. และหน่วยงานด้านความมั่นคงที่สําคัญคือ นายโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง // นายสมชวน รัตนมังคลานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รักษาราชการ แทนอธิบดีกรมประมง //นายภูริพัฒน์ ธีระกุลพิศุทธิ์ รองอธิบดีกรมเจ้าท่า // นายพงศ์เทพ บัวทรัพย์ ผู้อํานวยการกองสืบสวนและปราบปราม กรมศุลกากร // นายสมพงษ์ คล้อยแคล้ว ผู้ตรวจราชการ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน // พลตํารวจตรี โชคชัย นนท์ปฎิมากุล ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้าน การเดินเรือ กองบังคับการตํารวจน้ํา // รวมถึง นายภัครธรณ์ เทียนไชย ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ในฐานะผู้อํานวยการ ศรชล.จังหวัดชลบุรี เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริหาร ศรชล. นับเป็นกลไกที่สําคัญในการขับเคลื่อน ศรชล. ที่ยกระดับเป็น ศูนย์อํานวยการ ตามพระราชบัญญัติการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล พ.ศ.๒๕๖๒ มีหน้าที่ พิจารณา ให้ความเห็นหรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดทําแผนงาน โครงการ และงบประมาณ ให้คําปรึกษาในการ ปฏิบัติงานในหน้าที่และอํานาจของ ศรชล. รวมทั้งวางระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงาน ด้านต่าง ๆ ของ ศรชล. สําหรับวาระการประชุมคณะกรรมการบริหาร ศรชล. ในครั้งนี้มีวาระการประชุมที่สําคัญ คือ นโยบายการปฏิบัติงานของ ศรชล. ประจําปีงบประมาณ ๒๕๖๕ ที่มุ่งเน้นการการพัฒนา ศรชล. ในทุกด้าน เพื่อให้การปฏิบัติงานแบบบูรณาการและการพัฒนา ศรชล. มีความเป็นรูปธรรมและ มีประสิทธิภาพ รวมทั้งเพื่อรองรับแผนปฏิบัติราชการ ๕ ปี ในห้วงปี พ.ศ.๒๕๖๖ – ๒๕๗๐ ประกอบด้วย ๑. จัดทำแผนปฏิบัติการด้านการรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ซึ่ง จัดเป็นแผนระดับ ๓ รองรับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ให้มีความสอดคล้องและรองรับสถานการณ์ ทางทะเลในอนาคตให้แล้วเสร็จและได้รับอนุมัติให้ใช้ได้ภายในปีงบประมาณ ๒๕๖๕ เพื่อใช้เป็นกรอบในการ ปฏิบัติงานและพัฒนา ศรชล.ได้อย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ ๒. อำนวยการในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล โดยการบูรณาการการปฏิบัติงาน ร่วมกับหน่วยงานและเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล การบังคับใช้ กฎหมายอย่างเข้มงวดและต่อเนื่อง และการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่รับผิดชอบ โดยมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ที่ ตอบสนองการแก้ไขปัญหาของชาติ ในเรื่องของการทาประมงผิดกฎหมาย การค้ามนุษย์ การขนส่งยาเสพติด การค้าน้ามันเถื่อน รวมถึงการตรวจประเมินกระบวนงานของ IMO และการควบคุมการเข้าออกทางทะเล ภายใต้นโยบายของ ศบค. ๓. ยกระดับการปฏิบัติงานในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล การแก้ไขการทาประมง ผิดกฎหมายฯ (IUU Fishing) และการปราบปรามการค้ามนุษย์ ให้ต่อเนื่องและเป็นมาตรฐาน เพื่อให้ การรายงานสถานการณ์ด้านการค้ามนุษย์ของ กต.สหรัฐฯ (TIP Report) ในภาคกิจกรรมทางทะเลของไทย จากระดับบัญชี ๒ กลุ่มประเทศเฝ้าระวังหรือ Tier 2 Watch List เป็นระดับบัญชี ๒ หรือ Tier 2 โดยเฉพาะ ปัญหาแรงงานต่างด้าวในเรือประมง ๔. พัฒนาหลักปฏิบัติประจาในการบูรณาการ และการประสานงานในการปฏิบัติงานร่วมกัน ระหว่าง ศรชล.ส่วนกลาง ศรชล.ภาค และ ศรชล.จังหวัด ให้สามารถขับเคลื่อนการป้องกัน ปราบปราม การกระทำผิดในทะเล และจัดการแก้ไขปัญหาบรรเทาสาธารณภัยในทะเลได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ๕. เร่งรัดพัฒนากลไกการบูรณาการข้อมูลข่าวสาร การเชื่อมโยง และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ระหว่างหน่วยงานทางทะเลทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้ ศรชล. และหน่วยงานทางทะเลมีกลไกตระหนักรู้ สถานการณ์ทางทะเล (Maritime Domain Awareness: MDA) ในการทำหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของชาติ ทางทะเลที่มีประสิทธิภาพ ๖. เร่งรัดดำเนินการต่าง ๆ ให้เป็นไปตามแผนงาน นโยบาย แผนเผชิญเหตุ และบริหารจัดการ งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นไปตามแผนงานและเป้าหมายที่กำหนด มีความโปร่งใส เป็นไปตาม ระเบียบ ข้อบังคับและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และประสานการปฏิบัติกับหน่วยเหนือและปฏิบัติงานร่วมกับ หน่วยงานใน ศรชล. อย่างใกล้ชิด ๗. เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานร่วมกันของหน่วยงานหลักใน ศรชล. ภายใน กรอบและเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.การรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล พ.ศ.๒๕๖๒ และกฎหมายที่ เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านระหว่างผู้ที่โยกย้ายและผู้ที่มารับหน้าที่ใหม่ และดำรงความพร้อม โดยจัด ให้มีการปฐมนิเทศและเพิ่มเติมความรู้ให้กับกำลังพลที่ปฏิบัติงานใน ศรชล. อย่างต่อเนื่อง มีการแลกเปลี่ยนองค์ ความรู้ระหว่างหน่วยงาน ตลอดจนรวบรวมปัญหาอุปสรรคข้อขัดข้องในการปฏิบัติงานที่ผ่านมาและกำหนด แนวทางในการแก้ปัญหาให้เป็นรูปธรรม เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลในพื้นที่ รับผิดชอบ ร่วมกับหน่วยงาน เครือข่ายต่าง ๆ และประชาชนในพื้นที่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๘. เร่งรัดดำเนินการเกี่ยวกับการบรรจุข้าราชการพลเรือน ศรชล. และพนักงานราชการ ศรชล. ให้เป็นไปตามแผนงาน และจัดเตรียมหลักสูตรการอบรมรองรับข้าราชการพลเรือนใหม่ ให้มีความรู้พื้นฐาน ของหน่วยงานทางทะเล ขนบธรรมเนียมการปฏิบัติงานในทะเล ความเข้าใจงานรักษาผลประโยชน์ของชาติ ทางทะเล และการปฏิบัติหน้าที่ในงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบ ๙. สร้างความตระหนักรู้ในความสำคัญของผลประโยชน์ของชาติทางทะเล สิทธิอธิปไตย เขต อำนาจ และสิทธิในการแสวงประโยชน์จากทรัพยากรในเขตทางทะเล รวมทั้งเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ผลการปฏิบัติงาน โดยมุ่งเน้นให้ประชาชนในพื้นที่และหน่วยงานของรัฐในพื้นที่ จว.ชายทะเล ให้มีความเข้าใจ และให้ความร่วมมือในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลในพื้นที่รับผิดชอบ ๑๐. รวบรวมปัญหาอุปสรรคข้อขัดข้องในการปฏิบัติงานที่ผ่านมาและกำหนดแนวทางในการ แก้ปัญหาให้เกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน โดยมีการรวบรวมปัญหาอุปสรรคข้อขัดข้องในการฝึก การปฏิบัติงาน และการทดสอบแผนเผชิญเหตุกับตารางการประสานสอดคล้อง โดยมุ่งเน้นการฝึกในการ ช่วยเหลืออากาศยานและเรือประสบภัยในทะเล จัดทำเป็นบทเรียน และคู่มือการปฏิบัติงานในระดับต่าง ๆ ได้แก่ ระดับ ศรชล.ส่วนกลาง ระดับภาคและระดับจังหวัด (ศรชล.จังหวัด และ ศคท.จังหวัด) เพื่อปรับปรุงและ พัฒนาแนวทางการปฏิบัติงาน รวบรวมเป็นองค์ความรู้ของหน่วยในทุกระดับ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ศรชล.ได้มีผลการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมตามที่ได้รับมอบหมายจาก รัฐบาล โดยผลการปฏิบัติงานที่สําคัญในปีงบประมาณ ๒๕๖๔ ประกอบด้วย- การค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัย ศรชล. ได้บูรณาการการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัย จากหน่วยงานหลักใน ศรชล. โดยเฉพาะการร่วมกันจัดทํา “หลักสูตรการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล (Search and Rescue)” รวมถึงการเข้าไปมีส่วนร่วมและจะเป็นแกนหลักในการฝึกการค้นหาและช่วยเหลือ ผู้ประสบภัย (SAREX) โดยมีเป้าหมายในการเป็นเจ้าภาพจัดการฝึกในปีงบประมาณ ๒๕๖๖- การแก้ไขปัญหาการทําประมงผิดกฎหมาย ซึ่ง ศรชล. ได้รับมอบภารกิจ ต่อจากศูนย์บัญชาการ แก้ไขปัญหาการทําการประมงผิดกฎหมาย โดยได้ปฏิบัติภารกิจดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง รวมถึงได้นําระบบ อากาศยานไร้คนขับ (UAV) มาสนับสนุนการตรวจสอบเป้าต้องสงสัยร่วมกับศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังการทํา การประมง (FMC) ของกรมประมง ซึ่งสามารถจับกุมเรือประมงต่างชาติลักลอบทําการประมงในน่านน้ําไทย และได้ตรวจพบจับกุมเรือลักลอบลําเลียงน้ํามันโดยผิดกฎหมาย ได้อย่างต่อเนื่อง- การแก้ไขปัญหาบุกรุกพื้นที่สาธารณะบริเวณอ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี และความ ขัดแย้งจากการทําประมงคอกหอย จนสามารถส่งมอบพื้นที่ให้กับจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ภายในระยะเวลา ๕ เดือน ๘ วัน โดยสามารถคืนพื้นที่ ๑๑๐,๓๐๐ ไร่ รื้อถอนขนํา ๙๔๖ หลัง เสาปูน ๑๑,๑๐๑ ต้น และ เสาไผ่รั้วคอกหอย ๑๙๖,๑๒๐ ต้น- จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID – 19 ศรชล. ได้เข้ามามีส่วนในการป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรค COVID – 19 โดยการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการควบคุมการ คมนาคมทางน้ําระหว่างประเทศด้วยการตรวจสอบเรือที่เดินทางเข้าออกประเทศผ่านระบบ National Single Window ของกรมเจ้าท่า ในการบริหารจัดการบุคคลเข้ามาราชอาณาจักร โดยให้เป็นไปตามข้อกําหนด และ ให้หน่วยปฏิบัติของ ศรชล. ได้แก่ ศรชล.จังหวัด และศูนย์ควบคุมความมั่นคงท่าเรือจังหวัดทั้ง ๒๓ จังหวัดชายทะเล บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ทําการตรวจคัดกรองโรค COVID – 19 ลูกเรือของเรือสินค้า ที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามารับส่งสินค้าที่ท่าเรือต่าง ๆ ในประเทศ และการตรวจคัดกรองลูกเรือประมงโดย เจ้าหน้าที่ชุดสหวิชาชีพ ประจําศูนย์แจ้งเข้าออกเรือประมงหรือศูนย์ PIPO จนสามารถควบคุมไม่ให้โรค COVID – 19 จากภายนอกเข้ามาภายในประเทศทางน้ําได้อย่างเป็นผลสําเร็จ“ทั้งนี้ กําลังพล ศรชล. ทุกนาย จะมุ่งมั่นปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกําลังความสามารถ ด้วยความรัก ความ สามัคคี ความวิริยะ อุตสาหะ ด้วยสติรู้ตัว ปัญญารู้คิด เพื่อผลประโยชน์แก่ประชาชนชาวไทย”